หลักสูตรการฝึกอบรม

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมือโปรฯ สำหรับงานก่อสร้าง (จป.ก่อสร้าง)

จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในช่วง ปี 2559 – 2565  ประเภทกิจการที่มีอัตราการประสบอันตราย โดยมีจำนวนครั้งของการเกิดเหตุ สูงสุด คือ การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย กล่าวคือเฉลี่ยร้อยละ 3.24 ต่อปี โดยมีนายจ้างที่มีลูกจ้างอยู่ในความคุ้มครองกองทุนเงินทดแทนเฉลี่ย จำนวน 407,010 ราย และลูกจ้างเฉลี่ยต่อปี จำนวน 10,794,877 ราย และมีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเฉลี่ยต่อปีจำนวน 88,254 ราย เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงของการประสบอันตราย แต่ละกรณีเฉลี่ยต่อปี พบว่า กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 60,333 ราย หรือร้อยละ 68.36 กรณีหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 26,154 ราย หรือร้อยละ 29.64 กรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วน จำนวน 1,161 ราย หรือร้อยละ 1.31 กรณีตาย จำนวน 591 ราย หรือร้อยละ 0.67 และกรณีทุพพลภาพ จำนวน 14 ราย หรือร้อยละ 0.02 ตามลำดับ และสถิติลักษณะของการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วงเวลาเดียวกัน คือ (1) วัตถุหรือสิ่งของตัด/บาด/ทิ่มแทง (2) วัตถุหรือสิ่งของพังทลาย/หล่นทับ (3) วัตถุหรือสิ่งของกระแทก/ชน (4) วัตถุหรือสิ่งของหรือสารเคมมีกระเด็นเข้าตา และ (5) วัตถุหรือสิ่งของ หนีบ/ดึง (1) ทั้งนี้ หลักสูตรฝึกอบรมที่นำเสนอนี้ มีเป้าหมายที่จะลดอัตราการประสบอันตรายดังกล่าว ด้วยการบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง ทั้งในเรื่องของการวางแผนความปลอดภัย  การจัดไซต์งาน  การกำหนนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง การควบคุมความเสี่ยงในทุกกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในงานก่อสร้าง เพื่อลดความเสี่ยงนั้นๆลงมา และลดอัตราการประสบอันตรายอันเนื่องมาจาก “การกระทำที่ไม่ปลอดภัย” และ “สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพี่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารความปลอดภัยสำหรับโครงการก่อสร้าง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตรวจประเมินการบริหารจัดการความปลอดภัยของผู้รับเหมาได้อย่างเหมาะสมก่อนเริ่มการว่าจ้าง
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเขียนแผนความปลอดภัย และนำไปบริหารจัดการความปลอดภัยในไซต์งานก่อสร้างอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจอันตราย ความเสี่ยง และการจัดการ ควบคุมความเสี่ยงนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม
  5. เพื่อลดความเสี่ยงทั้งชีวิต และทรัพย์สิน รวมถึงข้อร้องเรียนต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชน
  6. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจระบบขออนุญาตปฏิบัติงาน และนำไปปรระยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  7. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรับทราบนวัตกรรมความปลอดภัย และการนำตีวอย่างกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรม

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับต่างๆ ในงานก่อสร้าง
  • วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง / ผู้จัดการโครงการก่อสร้าง
  • ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
  • ผู้ว่าจ้างโครงการก่อสร้าง / บริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้าง
  • อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจในงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยสำหรับโครงการก่อสร้าง

ระยะเวลาการฝึกอบรม

  • 2 วัน (12 ชั่วโมง)

วิธีการที่ใช่ในการฝึกอบรม

  • บรรยาย, กิจกรรมกลุ่ม, ชมวิดีโอ, นำเสนอกิจกรรมกลุ่ม และทำแบบทดสอบก่อน/หลังการฝึกอบรบ

วันที่ 1 : ความรู้เบื่องต้นในงานก่อสร้าง และการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา

8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน ทำแบบทอสอบก่อนการฝึกอบรม (Pre-test)
9.00 – 9.10 น. VDO Safety Brief – กล่าวเปิดการอบรม
9.10 – 10.00 น. ความรู้เบื้องต้นสำหรับโครงการก่อสร้าง
                        แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ บทบาทหน้าที่ และความก้าวหน้าในวิชาชีพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
                        คำศัพท์ และคำจำกัดความที่ใช้บ่อย
                        อันตรายและความเสี่ยง
                        ขั้นตอนของโครงการก่อสร้าง และบุคคลากร
10.00 – 10.30 น. กฏหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง
                        กฏหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้าง
                        แนวทางการยื่นขออนุญาตต่างๆ หรับงานก่อสร้าง
                        การประเมินผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมก่อนเริ่มโครงการก่อสร้าง (Environment Impact Assessment : EIA)
                        * การทบทวนกฏหมาย และแหล่งสำหรับศึกษาและ Download ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
10.30 – 10.45 น. พัก 15 นาที เครื่องดื่ม และขนม
10.45 – 11.00 น. แนวทางการคัดเลือก และประเมินผู้รับเหมาใหม่ (Pre Vender Audit & Accreditation)
                        ตัวอย่างเอกสารการทำ Pre Qualify
                        แนวทางการประเมินผู้รับเหมารายใหม่ และการคัดเลือก (Accreditation & Selection)
11.00 – 12.00 น. #PRE CONSTRUCTION STAGE - ระยะก่อนเริ่มโครงการก่อสร้าง การเขียน แผนงานทบทวนความพร้อมด้านความ                                   ปลอดภัยสำหรับโครงการก่อสร้าง (Construction Readiness Review : CRR)
                        ความสำคัญของการเขียนแผนฯ
                        องค์ประกอบของแผนความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
                        เทคนิคการนำเสนอแผนฯ ให้ผู้บริหารโครงการ และผู้ว่าจ้างยินยอม อนุมัติแผน
                        การนำแผนไปประยุกต์ใช้จริง การทบทวน และปรับปรุงแก้ไขแผนให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้าง
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร อาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. เอกสาร แบบฟอร์ม การประชุม และการเขียนรายงาน
                        การจัดเตรียมเอกสาร แบบฟอร์ม การประชุม และการรายงานสำหรับโครงการก่อสร้าง
13.30 – 14.00 น. การจัดทำระบบบริหารงานความปลอดภัย
                        การจัดทำระบบบริหารงานความปลอดภัย (HSSE Manual & HSSE Management System)
14.00 – 14.30 น. แผนผังองค์กร บุคลากร และหน้าที่รับผิดชอบ
                        การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคคลากร และแผนผังองค์กรสำหรับโครงการก่อสร้าง
                        ความรู้ความสามารถของบุคลากรแต่ล่ะตำแหน่ง (Competency) และตารางฝึกอบรม (Training Matrix)
14.30 – 14.45 น. พักเบรก 15 นาที เครื่องดื่ม และขนม
14.45 – 15.45 น. การจัดไซต์งานก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย
                        การแบ่งโซน การกั้นพื้นที่และการติดป้ายเตือน
                        การจัดทำ Green Zone สำหรับไซต์ก่อสร้าง
                        การจัด Red Zone ในไซต์งานก่อสร้าง ตามมาตรฐานสากล
                        การจัดการพื้นที่จัดเก็บสารเคมี และสโตร์
                        การจัดสาธารณูปโภคชั่วคราวในไซต์ก่อสร้าง
                        การติดตั้งระบบไฟฟ้าชั่วคราว
                        การจัดระบบรักษาความปลอดภัย (Security)
                        การจัดแคมป์คนงาน
15.45 – 16.00 น. ถาม – ตอบ
16.00 น. ปิดการอบรมวันที่ 1

วันที่ 2 :  การควบคุมอันตรายจากกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง, ระบบขออนุญาตทำงาน และการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย

8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 – 9.10 น. VDO Safety Brief – กล่าวเปิดการอบรม
9.10 – 10.30 น. #CONSTRUCTION STAGE - ระยะระหว่างการก่อสร้าง
                        การควบคุมความเสี่ยงสำหรับกิจกรรมความเสี่ยงสูง
                        งานบนที่สูง และนั่งร้าน
                        งานยกเคลื่อนย้ายวัตถุด้วยเครน
                        งานขุดหลุมลึก
                        การเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
                        งานไฟฟ้า และการตัดแยกพลังงาน (LOTO)
                        การควบคุมไฟไหม้ และการจัดการวัตถุไวไฟ
                        การจัดการสารเคมี
                        การจัดการท่อและถังก๊าซที่มีแรงดัน
                        อุปกรณ์และเครื่องมือ
                        การทุบ และรื้ออาคารสิ่งปลูกสร้าง
                        การจัดการแร่ใยหิน (Asbestos)
                        การจัดการขยะประเภทต่างๆ ในงานก่อสร้าง
                        การจัดการจราจร และผู้ควบคุมการจราจร
                        ระบบความปลอดภัย (Security) และการบริหารเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.)
10.30 – 10.45 น. พักเบรก
10.45 – 12.00 น. ระบบขออนุญาตทำงาน และการทำ JHA
                        ระบบขออนุญาตทำงาน (Permit to work)
                        การทำ JHA อย่างมีประสิทธผล
                        การทดสอบสมรรถภาพและความพร้อม (Fitness to work)
                        PPE (อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล)
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.30 น. เทคนิคการตรวจ Audit ไซต์งานก่อสร้าง
                        แบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ 8-10 คน
                        แจกรูป หรือ VDO ไซต์งานก่อสร้าง
                        แต่ล่ะกลุ่มระดมสมองทำ Site Audit
                        แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอผลงาน
                        สรุป
14.30 – 14.45 น. พักเบรก 15 นาที
14.45 15.15 น. การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย และนวัตกรรมใหม่ๆในงานก่อสร้าง
                        การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย และกระตุ้นจิตสำนึกความเสี่ยง
                        (Safety Campaign & Safety Mindset awareness)
                        นวัตกรรมในงานก่อสร้าง (Innovation for Construction)
15.15 – 15.45 น. ตัวอย่างรูปถ่ายการตรวจไซต์งานก่อสร้าง (ทั้งดี และควรปรับปรุง)
15.45 – 16.00 น. ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม (Post-test)
16.00 น. แจกประกาศนียบัตร กล่าวปิดอบรม – ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน

วิธีการประเมินผล

  • ทำแบบทดสอบก่อน/หลัง การอบรม เกณฑ์การสอบผ่าน = 80%

หมายเหตุ

  • ผู้เข้าอบรมทุกคนที่เข้าอบรมครบ 12 ชั่วโมง และทำคะแนนแบบทดสอบได้เกิน 80% จะได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate) รับรองความรู้ในการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับไซต์งานก่อสร้าง (Certified for Construction Safety Management)