ข่าวสาร

การบรรจุสารลงแท็งก์สำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย ตามข้อกำหนด ADR

การขนส่งสินค้าอันตรายนั้น มีความอันตรายในตัวสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงจำเป็นต้องทำการ ขนส่งในระบบปิดตามมาตรฐานความปลอดภัย ด้วยความระมัดระวังสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่ารถและหน่วยขนส่งสินค้าอันตรายอยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสมแก่ใช้งาน ซึ่งการขนส่งสินค้าอันตรายต่างๆนั้น จะมีข้อกำหนดตามรูปแบบการขนส่งที่เฉพาะเจาะจงและมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยยังคงยึดแกนกลางจากข้อนำแนะในการขนส่งสินค้าอันตรายโดยสหประชาชาติ หรือ UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods อย่างเคร่งครัด

ตามข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน หรือ Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR) ได้มีการกำหนดเรื่อง การบรรจุสารลงแท็งก์สำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย โดยมีองค์ประกอบดังนี้

วิธีการเติมสารลงแท็งก์

  • การเติมสารจากด้านบนของแท็งก์ : ในการเติมสารจากด้านบนของแท็งก์ที่มีช่องบรรทุกหลายช่อง สามารถเปิดเติมได้ครั้งละช่องบรรทุก เท่านั้น ไอสารที่ถูกระบายออกมาจากแท็งก์สามารถเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการในการ นำไอสารดังกล่าวกลับไปยังแท็งก์จ่ายหรือทำให้เป็นระบบปิด
  • การเติมสารจากด้านล่างของแท็งก์ : วัตถุอันตรายบางตัวสามารถบรรจุจากด้านล่างแท็งก์ ข้อดีของการบรรจุจากด้านล่างแท็งก์เมื่อเทียบกับ การบรรจุจากด้านบนคือจะไม่มีไอของสารออกไปสู่บรรยากาศเนื่องจากจะต้องมีการต่อท่อ ทางให้เป็นระบบปิด และนำกลับมาสู่แท็งก์ที่จัดเก็บสาร การเติมสารจนล้นก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะระบบป้องกันการเติมล้นจะตัดวงจรการ จ่ายสารทันทีเมื่อสารขึ้นมาถึงระดับการเติมที่ตั้งไว้

วิธีการถ่ายสารออกจากแท็งก์

  • การถ่ายสารออกทางด้านบน :
    วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายสูงสามารถถ่ายสารออกจากแท็งก์ได้เฉพาะจากด้านบนเท่านั้น เนื่องจากหากถ่ายทางช่องเปิดด้านล่างอาจมีความเสี่ยงในการรั่วไหล ถ้าสารดังกล่าวอยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว โดยการถ่ายออกสามารถทำได้โดยการสูบสารออกด้วยปั๊มหรือใช้อากาศอัดด้านบนผิวของข องเหลว แรงดันที่ ผิวด้านบนจะดันให้ของเหลวไหลขึ้นมาตามท่อได้
  • การถ่ายสารออกทางด้านล่าง :
    การจ่ายสารออกจากทางด้านล่างของแท็งก์ถือเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายตราบเท่าที่สารดังกล่าวส ามารถ ถ่ายออกจากด้านล่างได้ซึ่งรหัสแท็งก์ที่ใช้จะเป็นตัวบังคับว่าสามารถถ่ายสารออกด้านล่างได้ หรือไม่ สำหรับการ ถ่ายสารออกด้านล่างนั้น ADR ได้กำหนดให้ต้องมีช่องเปิด (อาจเป็นวาล์วหรือฝาปิดที่ปลาย) อย่างน้อยสองตัวเรียง กันแบบอนุกรมเพื่อป้องกันไม่ให้สารรั่วไหลออกจากแท็งก์ เมื่อจ่ายสารออกจากแท็งก์เสร็จแล้ว ต้องทำการปิด วาล์วตัวในก่อนและไล่เรียงมาเพื่อปิดวาล์วตัวนอกและฝาปิดที่ปลายท่อจ่ายเป็นลำดับสุดท้าย

ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง (Vapor Recovery System)
ในระหว่างการถ่ายสารออกจากแท็งก์ไปสู่แท็งก์จัดเก็บ จะนำเอาไอสารกลับเข้ามาในแท็งก์เมื่อปรับสมดุล อากาศระหว่างรถแท็งก์และแท็งก์จัดเก็บ ในยุโรปได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการนำเอาไอสารที่มีความเป็นอันตรายบางชนิดกลับเข้าสู่ระบบเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับในประเทศไทยมีเฉพาะกฎหมายของกรมธุรกิจพลังงานที่กำหนดให้การจ่ายหรือบรรจุน้ำมันเ ชื้อเพลิงต้องเป็นระบบปิด ต้องมีระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง

การป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต
การต่อสายดินเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการบรรจุและถ่ายสารไวไฟเข้าและออกจากแท็งก์ ทั้งนี้รวมถึง ในขั้นตอนของการเก็บตัวอย่างสาร อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบนำไฟฟ้าหรือมีการต่อสายดินทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตภ ายในแท็งก์ การเติมสารช่วงแรก ๆ ต้องเริ่มที่ความเร็วต่ำ ๆ ก่อนใน ระดับหนึ่งจากนั้นจึงค่อย ๆ เร่งความเร็วเพิ่มขึ้น และในช่วงใกล้เต็มก็ต้องลดความเร็วลงเช่นกัน ก่อนการบรรจุสาร ทุกครั้งต้องมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต