โครงสร้างของแท็งก์สำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย ตามข้อกำหนด ADR
การขนส่งสินค้าอันตรายนั้น มีความอันตรายในตัวสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้การขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงจำเป็นต้องทำการ ขนส่งในระบบปิดตามมาตรฐานความปลอดภัย ด้วยความระมัดระวังสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่ารถและหน่วยขนส่งสินค้าอันตรายอยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสมแก่ใช้งาน ซึ่งการขนส่งสินค้าอันตรายต่างๆนั้น จะมีข้อกำหนดตามรูปแบบการขนส่งที่เฉพาะเจาะจงและมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป โดยยังคงยึดแกนกลางจากข้อนำแนะในการขนส่งสินค้าอันตรายโดยสหประชาชาติ หรือ UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods อย่างเคร่งครัด
ตามข้อตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนน หรือ Agreement Concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Road (ADR) ได้มีการกำหนดเรื่อง การสร้างและการออกแบบแท็งก์สำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย โดยมีโครงสร้างและองค์ประกอบของแท็งก์สำหรับการขนส่งสินค้าอันตราย ดังนี้
องค์ประกอบในการสร้างแท็งก์
- วัสดุที่ใช้ผลิตแท็งก์ :
วัสดุที่ใช้ผลิตแท็งก์อาจเป็นไปได้หลากหลายชนิด เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม พลาสติกเสริมแรง เป็นต้น
- วัสดุเคลือบหรือบุรองภายในแท็งก์ :
ในการบรรทุกสารเคมีบางชนิดที่ไม่ต้องการให้สารสัมผัสกับผนังแท็งก์โดยตรงจำเป็นต้องมีวัส ดุเคลือบหรือ บุรองภายในแท็งก์ซึ่งอาจได้แก่ อินาเมล พลาสติก หรือยาง
- ฉนวนหุ้มแท็งก์ :
ฉนวนหุ้มแท็งก์อาจประกอบด้วยใยแร่ (Mineral wool) โฟมโพลียูริเทน หรือสุญญากาศ เพื่อการเก็บรักษาอุณหภูมิระหว่างการขนส่ง
- ความหนาผนังแท็งก์ :
ความหนาผนังแท็งก์ต้องเพียงพอในการรับความดันที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างการขนส่ง ทนต่อแรงกระทำจาก การเคลื่อนตัวของสารที่เกิดขึ้นภายในแท็งก์ในระหว่างการขนส่ง และเพียงพอที่ทำให้แท็งก์ปลอดภัยแม้เกิดอุบัติเหตุ สารที่ยิ่งอันตรายมากก็ยิ่งต้องสร้างให้แท็งก์มีความหนามากขึ้นตามไปด้วย
- การป้องกันส่วนท้ายของแท็งก์ :
ต้องมีกันชนท้ายเพื่อป้องกันแท็งก์เสียหายและเกิดการรั่วไหลของสารในกรณีเกิดการชนที่ ด้านท้ายของแท็งก์ กันชนต้องมีความยาวครอบคลุมตลอดความกว้างของรถ
โครงสร้างของแท็งก์
- ผนังแท็งก์ :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม พลาสติกเสริมแรง โดยส่วนมากใช้การม้วนขึ้นรูปของตัววัสดุที่นำมาใช้ผลิต (แบบเรียบ)
- ส่วนหัวและท้ายของแท็งก์ :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม พลาสติกเสริมแรง โดยส่วนมากใช้การปั๊มขึ้นรูปของตัววัสดุที่นำมาใช้ผลิตและนำไปประกบทั้งทางด้านหน้าแ ละด้านท้ายของแท็งก์ (แบบโค้งนูน)
- ฐานยึดแท็งก์ :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยจะมีการยึดติดตรึงกับตัวแชสซีรถอย่างมั่นคงแข็งแรง
- แมนโฮล :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นช่องสำหรับการลงไปซ่อมบำรุงและตรวจสอบทดสอบ รวบถึงเป็นจุดติดตั้งช่องเปิดสำหรับการบรรจุสาร (ด้านบน)
- ฝาปิดแมนโฮล :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นช่องสำหรับการบรรจุสาร (ด้านบน)
- แผ่นกั้นแยกห้องบรรทุก :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกำแพงกั้นแยกห้องบรรทุกออกจากกัน ดังนั้นแท็งก์ในลักษณะดังกล่าวจะสามารถทำการบรรจุสารที่ต่างชนิดกันได้ แต่อาจจะต้องมีท่อทางออกที่แยกจากกันในกรณีที่สารนั้นๆไม่สามารถเข้ากันได้
- แผ่นกันแรงกระแทก :
วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตัวลดแรงกระแทกภายในแท็งก์อันมีผลมาจากการเคลื่อนที่ขอ งสารภายในแท็งก์ระหว่างการขนส่ง
- ลิ้นตัวล่าง :
หรือวาล์วใต้แท็งก์ วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น อลูมิเนียม อลูมิเนียมอัลลอย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น วาล์วจ่ายตัวในสุด และเป็นอุปกรณ์ Safety Valve หรือ วาล์วฉุกเฉินในตัว ซึ่งจะต้องมีการออกแบบให้สามารถเก็บรักษาสารมิให้รั่วไหลออกไปภายนอกหากเกิดอุบัติเ หตุระหว่างการขนส่ง เช่น รถพลิกคว่ำ ถูกชนบริเวณท่อทางปล่อยสารออก เป็นต้น
- ท่อทางปล่อยสารออก :
หรือท่อทางจ่าย วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม อลูมิเนียมอัลลอย อลูมิเนียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทางออกเมื่อต้องการถ่ายสารออก และเป็นจุดติตั้งวาล์วจ่ายตัวนอก ซึ่งอาจจะมีการติดตั้งมากกว่า 1 ตัวได้ (สำหรับรถบางประเภทท่อนี้อาจเป็นท่อรับสารเข้าแท็งก์ในตัวด้วย)