ข่าวสาร
TSM กับการการจัดการสุขภาพของพนักงานขับรถ
ภารกิจและหน้าที่ของบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง TSM (Transport Safety Manager) ในการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการขนส่งอย่างมาก พนักงานขับรถทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพ โดยผู้ประกอบการขนส่งควรกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานขับรถทุกคนเป็นประจำทุกปีทั้งการตรวจความพร้อมด้านร่างกายทั่วไป ตรวจวัดสายตา ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจหาโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ หากตรวจพบสัญญาณเตือนหรือพบความไม่ปกติจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ไขได้ทันเวลาก่อนที่จะเกิดอาการกำเริบรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะการขับรถอันจะเป็นการเพิ่มโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะนำมาซึ่งความสูญเสียในหลายด้าน
สุขภาพต่อความปลอดภัย :
สมรรถนะและความพร้อมในการขับรถ : พนักงานขับรถควรจะพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลทำให้ง่วงนอน เช่น ยาแก้แพ้ เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของร่างกาย เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีโรคประจำตัว การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด สายตาสั้น-ยาว อายุมากขึ้น หิวหรืออิ่มเกินไป รวมไปถึงสภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ เช่น การมีเรื่องเข้ามารบกวนจิตใจ มีเรื่องให้ต้องคิดมาก มีความกดดันจากหัวหน้างาน มีความเครียดสะสม ปัญหาต่างๆหน้างาน ปัญหาภายในครอบครัว ภาระหนี้สินที่กำลังย่ำแย่ จนส่งผลให้มีอารมณ์โกรธ โมโห ฉุนเฉียว วิตกกังวล หมกมุ่น และฟุ้งซ่าน เป็นต้น
โรคและยาที่มีผลต่อสมรรถนะการขับรถ : ยา หมายถึง สารเคมีใด ๆ ที่ส่งผลต่อกระบวนการทำงานของร่างกายและจิตใจ ยาไม่เพียงแต่ส่งผลต่อทักษะ ด้านร่างกาย เช่น เวลาที่ประสาทใช้ในการตอบสนอง ประสานงาน และควบคุมรถ แต่ยังส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์การรับรู้ การประมวลผลข้อมูล และพฤติกรรมการรับความเสี่ยง กล่าวคือ การใช้ยาในผู้ขับรถจะทำให้สมรรถนะการขับรถลดลงและเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นการใช้ยาที่แพทย์จัดให้บางชนิดอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสมรรถนะการขับขี่ของพนักงานขับรถได้ อาทิเช่น
ระดับแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อสมรรถนะการขับรถ : ผลของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมรรถนะการขับรถ แอลกอฮอล์เป็นสารออกฤทธิ์กดประสาทและลดสมรรถนะในการขับรถอย่างปลอดภัย เนื่องจาก
หากพนักงานขับรถดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักมาทั้งคืนร่างกายอาจต้องการเวลามากกว่า 18 ชั่วโมง กว่าที่ระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดจะลดลงถึงระดับศูนย์
การตรวจสุขภาพพนักงานขับรถประจำปี : ผู้ประกอบการขนส่งควรกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานขับรถทุกคนเป็นประจำทุกปีทั้งการตรวจความพร้อมด้านร่างกายทั่วไป ตรวจวัดสายตา ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตรวจหาโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ หากตรวจพบสัญญาณเตือนหรือพบความไม่ปกติจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ไขได้ทันเวลาก่อนที่จะเกิดอาการกำเริบรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อสมรรถนะการขับรถ จากการหารือร่วมกันของกรมการขนส่งทางบกกับแพทย์สภา ได้มีการกำหนดกลุ่มโรคที่เสี่ยงจะเกิดอันตรายในการขับขี่ ดังนี้
ทั้งนี้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพพนักงานขับรถรายบุคคลจะต้องถูกเก็บรักษาเป็นความลับและในกรณีที่ตรวจพบอาการของโรค จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง จำเป็นจะต้องมั่นใจว่าโรคดังกล่าวจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถอย่างปลอดภัย