ข่าวสาร

การจัดทำแผนบำรุงรักษารถขนส่ง

รถเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบการทำงานของรถ การตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษารถ และเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุทำให้ใช้รถอย่างคุ้มค่า ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อม ยืดอายุการใช้งาน ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานขับรถเดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัยตรงตามกำหนดเวลา เพื่อการบริหารงานซ่อมบำรุงยานพาหนะ ธุรกิจขนส่งควรกำหนดระบบการซ่อมบำรุงยานพาหนะ ดังนั้นในฐาน บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า TSM (Transport Safety Manager) ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการ ควบคุม กำกับดูแล เรื่องความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง ดังนั้น วันนี้ทาง NET จะพามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนบำรุงรักษารถ

ภารกิจและหน้าที่ของบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง ในการจัดการรถมีความสำคัญต่อผู้ประกอบการขนส่งอย่างมาก โดยจะต้องทำการวางแผนการบริหารจัดการหรือการดำเนินการเกี่ยวกับรถ การตรวจสภาพความพร้อมของรถ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน รวมไปถึงการตรวจสอบการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทางและบรรทุกสินค้าและผู้โดยสารมีความพร้ อม สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งนั่นหมายถึงการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่ง โดยมีขั้นตอนการจัดทำแผนบำรุงรักษารถ ดังนี้คือ

  1. เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดลำดับความสำคัญเพื่อการวางแผนการบำรุงรักษา เนื่องจากชิ้นส่วนในรถบรรทุกมีจำนวนมากที่ต้องบำรุงรักษา หากจะดูแลทุกชิ้นส่วนเท่า ๆ กันหมดนั้น ก็จะไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงได้ทำการจัดลำดับความสำคัญของชิ้นส่วนต่างๆ ของรถบรรทุก เพื่อที่จะเลือกชิ้นส่วนที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง ซึ่งต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แก้ไขเร่งด่วนมาทำการวางแผนการซ่อมบำรุง และตัดชิ้นส่วนที่มีความสำคัญน้อยออกไปจากแผนการซ่อมบำรุง เพื่อให้ทราบถึงประเภทของการปฏิบัติงานและวิธีการบำรุงรักษาโดยแยกเป็นประเภท ทั้งสิ้น 3 ประเภท ได้แก่
    • งานบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) คือ การซ่อมบำรุงรถและอุปกรณ์ ตามกำหนดเวลาก่อนจะเกิดการชำรุดเสียหาย ป้องกันการเกิดเหตุรถเสียฉุกเฉิน การป้องกันสามารถทำได้ด้วยการตรวจสภาพรถและอุปกรณ์ตามกำหนด ระยะเวลาและหรือตามกำหนดระยะทางเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิตรถและอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบเบรก และระบบไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นต้น
    • งานซ่อมบำรุงรักษาเชิงตรวจสอบและดำเนินการซ่อม (Inspection and Repair, or Check Maintenance) คือ การตรวจเพื่อสำรวจสภาพชำรุด และเป็นงานช่อมที่ปฏิบัติตามผลการตรวจประจำรอบ
    • งานบำรุงรักษาหลังเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) คือ การซ่อมบำรุงหลังมีเหตุขัดข้องหรือเมื่อเสียแล้วจึงซ่อมแชม และเป็นประเภทที่การเสื่อมชำรุดไม่สามารถทำการตรวจสอบหรือซ่อมได้