ข่าวสาร

ลักษณะของรถโดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ

การขนส่งสมัยใหม่ด้วยเครื่องจักรกลเกิดขึ้นภายหลังจากการนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ เป็นต้นกำลังของเรือและรถไฟ ซึ่งต้องมีการใช้ถ่านหินและฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต่อมามีการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน และนำมาใช้กับรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน มีความสะดวกและเครื่องยนต์มีขนาดเล็ก จึงมีการนำไปใช้กับเรือและรถไฟการใช้เครื่องจักรไอน้ำขับเคลื่อนยานพาหนะจึงค่อย ๆ หมดไป

ยานพาหนะในปัจจุบันนี้จะมีขนาดใหญ่บรรทุกคนและสินค้าได้มาก และยังมีความรวดเร็วและเชื่อถือได้อีกด้วย รถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร มีความได้เปรียบในการเข้าถึงชุมชนและพื้นที่ ได้ดีกว่ารูปแบบการขนส่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือทางรางก็ตาม ถึงแม้ขนาดการบรรทุกของรถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร มีปริมาณไม่มากเท่ากับ การขนส่งด้วยเรือ หรือ รถไฟ แต่ก็ทำให้มีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจสำหรับการให้บริการระยะทางสั้น หรือจะเป็นการขนส่งแบบ Door to Door ก็สามารถทำได้ ด้วยเหตุนี้การขนส่งผ่านทางรถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร จึงส่วนแบ่งในด้านการให้บริการไปมิใช่น้อย ในขณะที่เรือและรถไฟมีความได้เปรียบด้านต้นทุน เมื่อขนส่งในระยะทางไกลและขนปริมาณมาก แต่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง และสุดท้ายก็จะต้องมีการขนส่งผ่านทางถนนอยู่ดี สำหรับการกระจายสินค้าไปยังปลายทางหรือผู้รับมอบสินค้าอยู่ดี

เมื่อการขนส่งด้วยรถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร นั้นมีปริมาณมาก รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุม กำกับดูแล ทั้งในส่วนของ คุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยในการขนส่ง ดังนั้นเราในฐาน บุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า TSM ซึ่งย่อมากจาก (Transport Safety Manager) ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการ ควบคุม กำกับดูแล เรื่องความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่ง ดังนั้น วันนี้ทาง NET จะพามารู้จักกับลักษณะของรถที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ในการประกอบการขนส่ง

โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2524) กำหนดลักษณะของรถที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ใน การประกอบการขนส่ง มี 3 ลักษณะคือ

  1. รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร แบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 7 มาตรฐาน คือ
    1. (1) มาตรฐาน 1 คือ รถปรับอากาศพิเศษ
      (2) มาตรฐาน 2 คือ รถปรับอากาศ
      (3) มาตรฐาน 3 คือ รถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ
      (4) มาตรฐาน 4 คือ รถสองชั้น
      (5) มาตรฐาน 5 คือ รถพ่วง
      (6) มาตรฐาน 6 คือ รถกึ่งพ่วง
      (7) มาตรฐาน 7 คือ รถโดยสารเฉพาะกิจ
    ในแต่ละมาตรฐานยังแบ่งย่อยลงไปอีก (ตั้งแต่ ก - ฉ แล้วแต่มาตรฐาน) ซึ่งจะเป็นการระบุจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร ผู้โดยสารยืน เครื่องขยายเสียง ฯลฯ
  2. รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ มี 9 ลักษณะ คือ
    1. (1) ลักษณะ 1 คือ รถกระบะบรรทุก
      (2) ลักษณะ 2 คือ รถตู้บรรทุก
      (3) ลักษณะ 3 คือ รถบรรทุกของเหลว
      (4) ลักษณะ 4 คือ รถบรรทุกวัสดุอันตราย
      (5) ลักษณะ 5 คือ รถบรรทุกเฉพาะกิจ
      (6) ลักษณะ 6 คือ รถพ่วง
      (7) ลักษณะ 7 คือ รถกึ่งพ่วง
      (8) ลักษณะ 8 คือ รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
      (9) ลักษณะ 9 คือ รถลากจูง
  3. รถขนาดเล็ก รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและสิ่งของรวมกัน ซึ่งคัสซีจะเป็นคัสซีรถโดยสารหรือไม่ก็ได้ และอาจมีทางขึ้นลงด้านข้าง หรือด้านท้ายของรถ ที่นั่งจำนวนไม่เกิน 20ที่นั่งโดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสาร และมีที่สำหรับบรรทุกสิ่งของรวมไปกับผู้โดยสาร

***หมายเหตุ รายละเอียดมาตรฐานและลักษณะรถ สามารถดูได้จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2524)